เหตุผลที่เลือกเรียนภาษาไทย


เหตุผลที่เลือกเรียนภาษาไทย
       เพราะเป็นภาษาที่อ่านออก  เขียนได้  พูดได้  และอยากเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทยอันเป็นเอกลักษณ์และสมบัติวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติให้ดำรงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

ความสำคัญของภาษาไทย



       
ความสำคัญของภาษาไทย
       คนไทยเป็นผู้ที่โชคดีที่มีภาษาของตนเอง เเละมีอักษรไทย เป็นตัวอักษร ประจำชาติ อันเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ ซึ่งเป็นเครื่องเเสดงว่าไทยเราเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมสูงส่งมาเเต่โบราณกาลเเละยั่งยืนมาจนปัจจุบัน คนไทยผู้เป็นเจ้าของภาษา ควรภาคภูมิใจที่ชาติไทยใช้ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติมากว่า 700 ปีเเล้ว เเละจะยั่งยืนตลอดไป ถ้าทุกคนตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย 
       ภาษาเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ ภาษาเป็นสื่อใช้ติดต่อกันเเละทำให้วัฒนธรรมอื่นๆเจริญขึ้น เเต่ละภาษามีระเบียบของตนเเล้วเเต่จะตกลงกันในหมู่ชนชาตินั้น ภาษาจึงเป็นศูนย์กลางยืดคนทั้งชาติ ดังข้อความ ตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์ในพระบาท สมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง "ความเป็นชาติโดยเเท้จริง" ว่า ภาษาเป็นเครื่องผูกพันมนุษย์ต่อมนุษย์เเน่นเเฟ้นกว่าสิ่งอื่น เเละไม่มีสิ่งใด ที่จะทำให้คนรู้สึกเป็นพวกเดียวกันหรือเเน่นอนยิ่งไปกว่าภาษาเดียวกัน รัฐบาลทั้งปวงย่อมรู้สึกในข้อนี้อยู่ดี เพราะฉะนั้น รัฐบาลใดที่ต้องปกครองคนต่างชาติต่างภาษา จึงต้องพยายามตั้งโรงเรียนเเละออกบัญญัติบังคับ ให้ชนต่างภาษาเรียนภาษาของผู้ปกครอง เเต่ความคิดเห็นเช่นนี้ จะสำเร็จตามปรารถนาของรัฐบาลเสมอก็หามิได้ เเต่ถ้ายังจัดการเเปลง ภาษาไม่สำเร็จอยู่ตราบใด ก็เเปลว่า ผู้พูดภาษากับผู้ปกครองนั้นยังไม่เชื่ออยู่ตราบนั้น เเละยังจะเรียกว่าเป็นชาติเดียวกันกับมหาชนพื้นเมืองไม่ได้ อยู่ตราบนั้น ภาษาเป็นสิ่งซึ่งฝังอยู่ในใจมนุษย์เเน่นเเฟ้นยิ่งกว่าสิ่งอื่น"
       ดังนั้นภาษาก็เปรียบได้กับรั้วของชาติ ถ้าชนชาติใดรักษาภาษาของตนไว้ได้ดี ให้บริสุทธิ์ ก็จะได้ชื่อว่า รักษาความเป็นชาติ
       คนไทยทุกคนใช้ภาษาไทยเป็นสื่อความรู้สึกนึกคิดเท่านั้นยังไม่เพียงพอ ควรจะรักษาระเบียบความงดงามของภาษา ซึ่งเเสดงวัฒนธรรม เเละ เอกลักษณ์ประจำชาติไว้อีกด้วย ดัง พระราชดำรัส สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตอนหนึ่งว่า 

       "ภาษานอกจากจะเป็นเครื่องสื่อสารเเสดงความรู้สึกนึกคิดของคนทั่วโลก เเล้ว ยังเป็นเครื่องเเสดงให้เห็นวัฒนธรรม อารยธรรม เเละเอกลักษณ์ ประจำชาติอีกด้วย ไทยเป็นประเทศซึ่งมีขนบประเพณี ศิลปกรรมเเละภาษา ซึ่งเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีตกาล เราผู้เป็นอนุชนจึงควรภูมิใจ ช่วยกัน ผดุงรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่บรรพบุรุษได้ อุตส่าห์สร้่างสรรค์ขึ้นไว้ให้เจริญสืบไป " 

หนังสือที่ได้รับรางวัลซีไรต์


 

            หนังสือของไทยที่ได้รับรางวัลซีไรต์แล้วได้แก่ 
 


1 ลูกอีสาน.............................นวนิยาย......คำพูน บุญทวี... 2522 

เพียงความเคลื่อนไหว.........กวีนิพนธ์......เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์.... 2523

3. ขุนทอง..เจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง....เรื่องสั้น..อัศศิริ ธรรมโชติ.... 2524

4. คำพิพากษา ................... นวนิยาย.......ชาติ กอบจิตติ.....2525

5. นาฏกรรมบนลานกว้าง ........กวีนิพนธ์.......คมทวน คันธนู....2526

6. ซอยเดียวกัน...................เรื่องสั้น.........วาณิช จรุงกิจอนันต์.....2527

7. ปูนปิดทอง ......... นวนิยาย........กฤษณา อโศกสิน..........2528

8. ปณิธานกวี...........กวีนิพนธ์.....อังคาร กัลยาณพงศ์.........2529

9. ก่อกองทราย........ เรื่องสั้น......ไพฑูรย์ ธัญญา............2530

10. ตลิ่งสูงซุงหนัก.....นวนิยาย......นิคม รายยวา...............2531

11. ใบไม้ที่หายไป......กวีนิพนธ์.....จิรนันท์ พิตรปรีชา........2532

12. อัญมณีแห่งชีวิต ....เรื่องสั้น......อัญชัน.....................2533

13. เจ้าจันท์ผมหอม ...นวนิยาย......มาลา คำจันทร์.........2534

14. มือนั้นสีขาว..........กวีนิพนธ์.....ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ.......2535

15. ครอบครัวกลางถนน... เรื่องสั้น....ศิลา โคมฉาย.........2536

16. เวลา...................นวนิยาย......ชาติ กอบจิตติ..........2537

17. ม้าก้านกล้วย.........กวีนิพนธ์.....ไพวรินทร์ ขาวงาม.....2538

18. แผ่นดินอื่น...........เรื่องสั้น.......กนกพงศ์ สงสมพันธุ์......2539

19. ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน ..นวนิยาย..วินทร์ เลียววารินทร์...2540

20. ในเวลา..............กวีนิพนธ์.........แรคำ ประโดยคำ..........2541

21. สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน ..เรื่องสั้น....วินทร์ เลียววาริณ..........2542

22. อมตะ...............นวนิยาย.........วิมล ไทรนิ่มนวล..........2543

23. บ้านเก่า............กวีนิพนธ์........โชคชัย บัณฑิต............2544 

24. ความน่าจะเป็น...เรื่องสั้น........ปราบดา หยุ่น.............2545 

25. ช่างสำราญ.......นวนิยาย..........เดือนวาด พิมวนา........2546

26. แม่น้ำรำลึก......กวีนิพนธ์..........เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์.......2547

27. เจ้าหงิญ .........เรื่องสั้น............บินหลา สันกลาคีรี......2548

28. ความสุขของกะทิ .......นวนิยาย...งามพรรณ เวชชาชีวะ....2549 

29. โลกในดวงตาข้าพเจ้า .....บทกวี....มนตรี ศรียงค์.....2550

30. เราหลงลืมอะไรบางอย่าง .......เรื่องสั้น...... วัชระ สัจจะสารสิน...2551

31. ลับแล, แก่งคอย ....นวนิยาย......อุทิศ เหมะมูล.....2552



การอ่าน






                                                    การอ่าน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอ่าน
        การอ่านเป็นหนึ่งในสี่ทักษะทางภาษาที่จำเป็นต้องฝึกฝนอยู่เสมอ และไม่มีวันสิ้นสุดสามารถฝึกได้เรื่อย ๆ ตามวัยและประสบการณ์ของผู้อ่าน เพราะการอ่านนั้นจะเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้มนุษย์ได้รับความรู้ ความคิด และความบันเทิงใจ ช่วยปรับปรุงชีวิตให้สดใสสมบูรณ์ ดังคำกล่าวของ เซอร์ ฟรานซิส เบคอน นักปรัชญาเมธีชาวอังกฤษที่ว่า “การอ่านทำคนให้เป็นคนโดยสมบูรณ์
1. ความหมายของการอ่าน
               การอ่านเป็นพฤติกรรมการรับสารที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการฟัง ปัจจุบันมีผู้รู้นักวิชาการและนักเขียนนำเสนอความรู้ ข้อมูล ข่าวสารและงานสร้างสรรค์ ตีพิมพ์ ในหนังสือและสิ่งพิมพ์อื่น ๆ มาก นอกจากนี้แล้วข่าวสารสำคัญ ๆ หลังจากนำเสนอด้วยการพูด หรืออ่านให้ฟังผ่านสื่อต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะตีพิมพ์รักษาไว้เป็นหลักฐานแก่ผู้อ่านในชั้นหลัง ๆความสามารถในการอ่านจึงสำคัญและจำเป็นยิ่งต่อการเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในสังคมปัจจุบัน
2. ความสำคัญของการอ่าน
               ในสมัยโบราณที่ยังไม่มีตัวหนังสือใช้ มนุษย์ได้ใช้วิธีเขียนบันทึกความทรงจำและเรื่องราวต่าง ๆ เป็นรูปภาพไว้ตามฝาผนังในถ้ำ เพื่อเป็นทางออกของอารมณ์ เพื่อเตือนความจำหรือเพื่อบอกเล่าให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วย แสดงถึงความพยายามและความปรารถนาอันแรงกล้าของมนุษย์ ที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ของตนเป็นสัญลักษณ์ที่คงทนต่อกาลเวลาจากภาพเขียนตามผนังถ้ำ ได้วิวัฒนาการมาเป็นภาษาเขียนและหนังสือ ปัจจุบันนี้หนังสือกลายเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อมนุษย์จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นปัจจัยอันหนึ่งในการดำรงชีวิตคนที่ไม่รู้หนังสือแม้จะดำรงชีวิตอยู่ได้ก็เป็นชีวิตที่ไม่สมบูรณ์ ไม่มีความเจริญ ไม่สามารถประสบความสำเร็จใด ๆ ในสังคมได้หนังสือและการอ่านหนังสือจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
3. จุดประสงค์ของการอ่าน
                ในการอ่านบุคคลแต่ละคนจะมีจุดประสงค์ของตนเอง คนที่อ่านข้อความเดียวกันอาจมีจุดประสงค์หรือความคิดต่างกัน โดยทั่วไปจุดประสงค์ของการอ่านมี 3 ประการ คือ
       1)  การอ่านเพื่อความรู้ ได้แก่ การอ่านหนังสือประเภทตำรา สารคดี วารสาร หนังสือพิมพ์ และข้อความต่าง ๆ เพื่อให้ทราบเรื่องราวอันเป็นข้อความรู้ หรือเหตุการณ์บ้านเมือง การอ่านเพื่อความรอบรู้เป็นการอ่านที่จำเป็นที่สุดสำหรับครู เพราะความรู้ต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมอยู่ทุกขณะ แม้จะได้ศึกษามามากจากสถาบันการศึกษาระดับสูง ก็ยังมีสิ่งที่ยังไม่รู้และต้องค้นคว้าเพิ่มเติมให้ทันต่อความก้าวหน้าของโลกข้อความรู้ต่าง ๆ อาจมิได้ปรากฏชัดเจนในตำรา แต่แทรกอยู่ในหนังสือประเภทต่าง ๆแม้ในหนังสือประเภทบันเทิงคดีก็จะให้เกร็ดความรู้ควบคู่กับความบันเทิงเสมอ
       2)  การอ่านเพื่อความคิดแนวความคิดทางปรัชญา วัฒนธรรม จริยธรรม และความคิดเห็นทั่วไป มักแทรกอยู่ในหนังสือแทบทุกประเภท มิใช่หนังสือประเภทปรัชญา หรือจริยธรรมโดยตรงเท่านั้น การศึกษาแนวคิดของผู้อื่น เป็นแนวทางความคิดของตนเองและอาจนำมาเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิตหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตผู้อ่านจะต้องใช้วิจารณญาณในการเลือกนำความคิดที่ได้อ่านมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในบางเรื่องผู้อ่านอาจเสนอความคิดโดยยกตัวอย่างคนที่มีความคิดผิดพลาดเพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้ผู้อ่านได้ความยั้งคิด เช่น เรื่องพระลอแสดงความรักอันฝืนทำนองคลองธรรมจึงต้องประสบเคราะห์กรรมในที่สุดผู้อ่านที่ขาดวิจารณญาณมีความคิดเป็นเรื่องจูงใจให้คนทำความผิดนับว่าขาดประโยชน์ทางความคิดที่ควรได้ไปอย่างน่าเสียดายการอ่านประเภทนี้จึงต้องอาศัยการศึกษาและการชี้แนะที่ถูกต้องจากผู้มีประสบการณ์ในการอ่านมากกว่าครูจึงต้องใช้วิจารณญาณในการอ่านเพื่อความคิดของตนเองและเพื่อชี้แนะหรือสนับสนุนนักเรียนให้พัฒนาการอ่านประเภทนี้
       3)  การอ่านเพื่อความบันเทิงเป็นการอ่านเพื่อฆ่าเวลา เช่น ระหว่างที่คอยบุคคลที่นัดหมาย คอยเวลารถไฟออก เป็นต้น หรืออ่านหนังสือประเภทบันเทิงคดีในเวลาว่าง บางคนที่มีนิสัยรักการอ่านหากรู้สึกเครียดจากการอ่านหนังสือเพื่อความรู้ อาจอ่านหนังสือประเภทเบาสมองเพื่อการพักผ่อน หนังสือประเภทที่สนองจุดประสงค์ของการอ่านประเภทนี้มีจำนวนมาก เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย การ์ตูน วรรณคดีประเทืองอารมณ์เป็นต้นจุดประสงค์ในการอ่านทั้ง 3 ประการดังกล่าว อาจรวมอยู่ในการอ่านครั้งเดียวกันก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องแยกจากกันอย่างชัดเจน
       4)  คุณค่าของการอ่าน ในการส่งเสริมการอ่าน ครูควรชี้ให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการอ่าน ซึ่งจะเป็นแนวทางในการเลือกหนังสือด้วย คุณค่าดังกล่าวมามีดังนี้
            • คุณค่าทางอารมณ์หนังสือที่ให้คุณค่าทางอารมณ์ ได้แก่ วรรณคดีที่มีความงามทั้งถ้อยคำ น้ำเสียง ลีลาในการประพันธ์ ตลอดจนความงามในเนื้อหา อาจเรียกได้ว่ามี “รส” วรรณคดี
ซึ่งตำราสันสกฤต กล่าวว่า มีรส 9 รส คือ
            1 รสแห่งความรักหรือความยินดี
            2 รสแห่งความรื่นเริง
            3 รสแห่งความสงสาร
            4 รสแห่งความเกรี้ยวกราด
            5 รสแห่งความกล้าหาญ
            6 รสแห่งความน่ากลัวหรือทุกขเวทนา
            7 รสแห่งความเกลียดชัง
            8 รสแห่งความประหลาดใจ
            9 รสแห่งความสงบสันติในวรรณคดีไทยก็แบ่งเป็น 4 รส คือ
                -  เสาวจนี การชมความงาม
                -  นารีปราโมทย์ การแสดงความรัก
                -  พิโรธวาทัง การแสดงความโกธรแค้น
                -  สัลลาปังคพิไสย การคร่ำครวญ
หลายท่านคงเคยได้ศึกษามาแล้ว หนังสือที่มิใช่ตำราวิชาการโดยตรง มักแทรกอารมณ์ไว้ด้วยไม่มากก็น้อย ทั้งนี้เพื่อให้น่าอ่านและสนองอารมณ์ของผู้อ่านในด้านต่าง ๆ
            • คุณค่าทางสติปัญญาหนังสือดีย่อมให้คุณค่าทางด้านสติปัญญา อันได้แก่ ความรู้และความคิดเชิงสร้างสรรค์ มิใช่ความคิดในเชิงทำลายความรู้ในที่นี้นอกจากความรู้ทางวิชาการแล้วยังรวมถึงความรู้ทางการเมือง สังคม ภาษา และสิ่งต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านเสมอ แม้จะหยิบหนังสือมาอ่านเพียง 2-3 นาทีผู้อ่านก็จะได้รับคุณค่าทางสติปัญญาไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่งหนังสืออาจจะปรากฏในรูปของเศษกระดาษถุงกระดาษ แต่ก็จะ “ให้ ” บางสิ่งบางอย่างแก่ผู้อ่านบางครั้งอาจช่วยแก้ปัญหาที่คิดไม่ตกมาเป็นเวลานานทั้งนี้ย่อมสุดแต่วิจารณญาณและพื้นฐานของผู้อ่านด้วยบางคนอาจมองผ่านไปโดยไม่สนใจแต่บางคนอาจมองลึกลงไปเห็นคุณค่าของหนังสือนั้นเป็นอย่างยิ่งคุณค่าทางสติปัญญาจึงมิใช่ขึ้นอยู่กับหนังสือเท่านั้น หากขึ้นอยู่กับผู้อ่านด้วย
            • คุณค่าทางสังคม การอ่านเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมาแต่เป็นโบราณกาล หากมนุษย์ ไม่มีนิสัยในการอ่าน วัฒนธรรมคงสูญสิ้นไป ไม่สืบทอดมาจนบัดนี้ วัฒนธรรมทางภาษา การเมือง การประกอบอาชีพ การศึกษา กฎหมาย ฯลฯ เหล่านี้อาศัยหนังสือและการอ่านเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่และพัฒนาให้คุณค่าแก่สังคมนานัปการ หนังสืออาจทำให้การเมืองเปลี่ยนแปลงไปได้หากมีคนอ่านเป็นจำนวนมาก หนังสือและผู้อ่าน จึงอาศัยกันและกันเป็นเครื่องสืบทอดวัฒนธรรมของมนุษย์ในสังคมที่เจริญแล้ว จะเห็นได้ว่า ในกลุ่มคนที่ไม่มีภาษาเขียน ไม่มีหนังสือไม่มีการอ่านวัฒนธรรมของสังคมนั้นมักล้าหลัง ปราศจากการพัฒนา การอ่านจึงให้คุณค่าทางสังคมในทุกด้าน



สุนทรภู่กวีเอกของโลก


              สุนทรภู่ยอดกวีแห่งแผ่นดินสยาม
 ประวัติสุนทรภู่
พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2398) เป็นกวีชาวไทยที่มีชื่อเสียง ได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย[1] เกิดหลังจากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 4 ปี และได้เข้ารับราชการเป็นกวีราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาลักษณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต
สุนทรภู่เป็นกวีที่มีความชำนาญทางด้านกลอน ได้สร้างขนบการประพันธ์กลอนนิทานและกลอนนิราศขึ้นใหม่จนกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ผลงานที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่มีมากมายหลายเรื่อง เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศสุพรรณ เพลงยาวถวายโอวาท กาพย์พระไชยสุริยาและ พระอภัยมณี เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนนิทาน และเป็นผลงานที่แสดงถึงทักษะ ความรู้ และทัศนะของสุนทรภู่อย่างมากที่สุด งานประพันธ์หลายชิ้นของสุนทรภู่ได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนนับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เช่น กาพย์พระไชยสุริยา นิราศพระบาท และอีกหลายๆเรื่อง
ปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบ 200 ปีชาตกาล สุนทรภู่ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านงานวรรณกรรม ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่างๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ไว้ที่ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง บ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นที่กำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ นิราศเมืองแกลง นอกจากนี้ยังมีอนุสาวรีย์แห่งอื่นๆ อีก เช่น ที่วัดศรีสุดาราม ที่จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดนครปฐม วันเกิดของสุนทรภู่คือวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็นวันสุนทรภู่ ซึ่งเป็นวันสำคัญด้านวรรณกรรมของไทย มีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่างๆ โดยทั่วไป
งานของผลสุนทรภู่

นิราศ
๑. นิราศเมืองแกลง แต่งในราว พ.ศ. ๒๓๕๐ ตอนต้นปี
๒. นิราศพระบาท แต่งในราว พ.ศ. ๒๓๕๐ ตอนปลายปี
๓. นิราศภูเขาทอง แต่งในราว พ.ศ. ๒๓๗๑
๔. นิราศเมืองสุพรรณ (โคลง) แต่งในราว พ.ศ. ๒๓๘๔
๕. นิราศวัดเจ้าฟ้า ฯ แต่งในราว พ.ศ. ๒๓๗๕
๖. นิราศอิเหนา
๗. นิราศพระแท่นดงรัง
๘. นิราศพระประธม
๙. นิราศเมืองเพชร แต่งในราว พ.ศ. ๒๓๘๘-๒๓๙๒
นิทาน
๑. เรื่องโคบุตร แต่งในราวรัชกาลที่ ๑
๒. เรื่องพระอภัยมณี แต่งในราวรัชกาลที่ ๒-๓
๓. เรื่องพระไชยสุริยา แต่งในราวรัชกาลที่ ๓
๔. เรื่องลักษณวงศ์ (มีสำนวนผู้อื่นแต่งต่อ และไม่ทราบเวลาแต่ง)
๕. เรื่องสิงหไตรภพ แต่งในราวรัชกาลที่ ๒

สุภาษิต
๑. สวัสดิรักษา แต่งระหว่าง พ.ศ. ๒๓๖๔-๗
๒. เพลงยาวถวายโอวาท แต่งระหว่าง พ.ศ. ๒๓๗๓
๓. สุภาษิตสอนหญิง แต่งระหว่าง พ.ศ. ๒๓๘๐-๒๓๘๓

บทละคร
๑. เรื่องอภัยณุราช

บทเสภา
๑. เรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดพลายงาม แต่งในรัชกาลที่ ๒
๒. เรื่องพระราชพงศาวดาร แต่งในรัชกาลที่ ๔

บทเห่กล่อม
๑. เห่เรื่องจับระบำ
๒. เห่เรื่องกากี
๓. เห่เรื่องพระอภัยมณี
๔. เห่เรื่องโคบุตร

รวมวรรณกรรมของสุนทรภู่ ทั้งหมด ๒๔ เรื่อง


พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ในภาษาไทย

พยัญชนะ
พยัญชนะไทยมี 44 รูป สามารถแบ่งตามฐานที่ใช้ในการออกเสียงเป็นวรรค ดังเช่นในภาษาบาลีและสันสกฤต พร้อมแสดงชื่อเรียกในปัจจุบัน
วรรค กะ-ก ไก่ข ไข่ฃ ขวด*ค ควายฅ คน*ฆ ระฆังง งู
วรรค จะ-จ จานฉ ฉิ่งช ช้างซ โซ่ฌ เฌอญ หญิง
วรรค ฏะ-ฎ ชฎาฏ ปฏักฐ ฐานฑ มณโฑฒ ผู้เฒ่าณ เณร
วรรค ตะ-ด เด็กต เต่าถ ถุงท ทหารธ ธงน หนู
วรรค ปะ-บ ใบไม้ป ปลาผ ผึ้งฝ ฝาพ พานฟ ฟันภ สำเภาม ม้า
เศษวรรค-ย ยักษ์ร เรือล ลิงว แหวนศ ศาลาษ ฤๅษีส เสือห หีบฬ จุฬา


* เนื่องจาก ฃ และ ฅ ปัจจุบันไม่พบการใช้งาน จึงอนุโลมใช้ ข และ ค แทนในการสะกด
พยัญชนะไทยยังแบ่งออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ประกอบด้วย

สระ

สระในภาษาไทยมี 21 รูป ซึ่งรูปสระเหล่านี้จะนำไปประกอบเป็นรูปสระที่ใช้จริงอีกต่อหนึ่ง
หมายเหตุ : ที่แสดงข้างต้นเป็นสระเดี่ยว สระที่เหลือเป็นสระผสม เช่น เ-ะ ผสมจาก เ และ ะ


วรรณยุกต์

วรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 4 รูป 5 เสียง
คำทุกคำในภาษาไทยจะมีเสียงวรรณยุกต์เสมอ แม้ว่าจะไม่มีรูปวรรณยุกต์แสดงให้เห็นก็ตาม


รูปวรรณยุกต์

  •  ่ ไม้เอก
  •  ้ ไม้โท
  •  ๊ ไม้ตรี
  •  ๋ ไม้จัตวา


เสียงวรรณยุกต์

  • เสียงสามัญ
  • เสียงเอก
  • เสียงโท
  • เสียงตรี
  • เสียงจัตวา








มาตราตัวสะกด


ระการเรียนรู้ภาษาไทยมาตราตัวสะกด






มาตราตัวสะกด

     มาตราตัวสะกดมีทั้งที่ใช้ตัวสะกดตรงแม่ และมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงแม่ การเรียนรู้มาตราตัวสะกดต่างๆ ทำให้เขียนและอ่านคำได้ถูกต้อง
     มาตราตัวสะกด คือ พยัญชนะที่ผสมอยู่ข้างหลังคำหรือพยางค์ในแม่ ก กา ทำให้แม่ ก กา มีตัวสะกด เช่น มี เมื่อประสมกับ ด กลายเป็น มีด เป็นต้น
     มาตรา ก กา หรือแม่ ก กา คือ คำหรือพยางค์ที่ไม่มีตัวสะกด เช่น มา เสือ ตัว มือ เสีย ดำ ฯลฯ ส่วนมาตราตัวสะกดมีทั้งหมด ๘ แม่ คือ กก กด กบ กม เกย เกอว กง กน แบ่งได้ดังนี้
๑. มาตราตัวสะกดตรงแม่ ใช้ตัวสะกดตัวเดียว มี ๔ มาตรา คือ
     แม่กง ใช้ ง สะกด เช่น หาง ปลิง สอง งง แรง ฯลฯ  
     แม่กม ใช้ ม สะกด เช่น ลม แต้ม โสม มุม งอม สนาม ฯลฯ
     แม่เกย ใช้ ย สะกด เช่น สาย ลอย โปรย เฉย ปุ๋ย ฯลฯ
     แม่เกอว ใช้ ว สะกด เช่น แห้ว กาว เปรี้ยว เปลว ฯลฯ
๒. มาตราตัวสะกดไม่ตรงแม่ มีตัวสะกดหลายตัวในมาตราเดียวกัน เพราะออกเสียงเหมือนตัวสะกดเดียวกัน มี ๔ มาตรา คือ
     แม่กน ใช้ น ญ ณ ร ล ฬ สะกด เช่น นาน วิญญาณ วานร กาลเวลา พระกาฬ ฯลฯ
     แม่กก ใช้ ก ข ค ฆ สะกด เช่น ปัก เลข วิหค เมฆ ฯลฯ
     แม่กด ใช้ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เช่น แปด ตรวจ ก๊าช บงกช กฎหมาย ปรากฏ อิฐ ครุฑ วัฒนา เปรต โอสถ บาท โกรธ กระดาษ รส เลิศ ฯลฯ
     แม่กบ ใช้ บ ป ภ พ ฟ สะกด เช่น กลับ บาป ลาภ นพรัตน์ กราฟ ฯลฯ



มาตราตัวสะกดในภาษาไทยมีดังนี้แม่ ก กา 
แม่ เกย 
แม่ กด
แม่ กง 
แม่ เกอว 
แม่ กน
แม่ กม 
แม่ กก 
แม่ กบ


แม่ ก กา
คำในแม่ ก กา เป็นคำที่ไม่มีพยัญชนะเป็นตัวสะกด ท้ายคำ หรือ ท้ายพยางค์ อ่านออกเสียงสระโดยไม่มีเสียงพยัญชนะ


ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ ก กา
    กติกา โกลี คร่ำคร่า เคอะ เงอะงะ เฉโกโว้เว้ ซาฟียะห์ น้ำบูดู ปรานี ไม่เข้ายา โยทะกา เรือกอและ  เล้า โสภา หญ้าคา อาชา


แม่ กง
พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กง คือ อ่านอย่างเสียง ง


ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กง
    กองกลาง โขมง คล้องจอง คูปอง จ้องหน่อง ฉิ่ง ตะราง ตุ้งติ้ง ประลอง พิธีรีตอง มะเส็ง แมงดา รำพึง สรงน้ำ สำเนียง แสลง


แม่ กม
พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กม คือ อ่านออกเสียง ม


ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กม
    กระหม่อม คำราม จริยธรรม ชมรม ถล่ม ทะนุถนอม ทิม ทุ่ม บรรทม บังคม เปรมปรีดิ์ พฤติกรรม ภิรมย์ แยม หยาม อาศรม


แม่ เกย
พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่เกย คือ อ่านออกเสียง ย


ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ เกย
    กระจ้อยร่อย ข่าย ชีวาลัย ทยอย นโยบาย เนย เนื้อทราย เปรียบเปรย พระทัย โพยภัย ภูวไนย เสวย มโนมัย วินัย สาหร่าย อาชาไนย
แม่ เกอว
พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่เกอว คือ อ่านออกเสียง ว


ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ เกอว
    กริ้ว  ก๋วยเตี๋ยว  ข้าวยำ  ข่าวลือ  จิ๋ว  เจื้อยแจ้ว ดาวฤกษ์  ต้นงิ้ว  ท้าวไท  ทาวน์เฮ้าส์  ประเดี๋ยว  ยั่ว เลิกคิ้ว หิวข้าว  เหว  อ่าว


แม่ กก
พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กก คือ อ่านออกเสียง ก 


ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กก
    โขยกเยก  จ้อกแจ้ก  จักตอก  ชาดก  ดอกบุก  ทาก  นกเงือก  ปักษา  แฝก  พักตร์ มรดก  ไม้กระบอก วิตก  สามาชิก หญ้าแพรก  เอกลักษณ์


แม่ กด
พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กด คือ อ่านออกเสียง ด 


ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กด
    กระจาด  กะทัดรัด  ขนาดย่อม  ดอกพุด  นัดดา  แน่นขนัด  เพนียด  แรด  ลานวัด  สลัด  สะพัด  หวุดหวิด หูฝาด  อดออม  อดสู  เอร็ดอร่อย


แม่ กน
พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กน คือ อ่านออกเสียง น


ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กน
    กระตือรือร้น  กันแสง  ขมีขมัน  ขึ้นแท่น  คำประพันธ์  จินดา ชันษา ชุลมุน  ดูหมิ่น  ต้นหว้า  โต๊ะจีน พระชนนี


แม่ กบ
พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กบ คือ อ่านออกเสียง บ


ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กบ
    คาคบ  ตะขบ  ทะเลสาบ  น้ำมันดิบ  ประทับ  ผลกระทบ  พลับพลา  รสแซบ  ระเบียบ  ริบหรี  ลบหลู่ วัตถุดิบ  เว็บไซต์  สายลับ  สู้ยิบตา  หับ